SJSS    Details 
 SJSS  

Details of the article

 Internal Communication regarding social responsibilities, A Case Study of Sanguan Wongse Industries Company Limited การสื่อสารภายในองค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กรณีศึกษา บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด
  Authors (ผู้แต่ง): ณัชชา ลิมปศิริสุวรรณ และขวัญกมล ดอนขวา
  Date (วันที่): 15 มกราคม 2559 (11:18:33)
  Article Types (ประเภทบทความ): Article
  Keywords (คำค้น): internal communication, social responsibility, communication theory
  Abstract (บทคัดย่อ):
This research aimed to study the activities and communications for their employees regarding social responsibilities conducted by a company in order to study the responses of their employees’ and their attitudes towards the social responsibilities of the company. In this qualitative research, the data was collected from the person who was responsible for organizing the activities and for communicating with employees about the company’s social responsibilities and also from 4 of the employees by in-depth interviewing. Content analysis was used to interpret meaning from the content of text data. The results revealed that the social responsibilities of the company could be divided as follows: 1) internal activities involving the social responsibilities of the company related to the manufacturing process and also the responsibilities of the employees: and 2) external activities related to the community. The company places importance on communication process which aims to encourage the employees to respond and to participate. The target group included all the employees in the company. Therefore, easily understandable contents were focused on with various kinds of mediums. The most effective results were obtained from those activities in which the employees participated. The results of the responses from those employees who participated voluntarily were evaluated. As a result of the encouragement of the management team regarding the company’s social responsibilities, the employees have positive attitudes toward the company and want to participate in future activities regarding social responsibilities which will lead to a greater employees’ commitment.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและการสื่อสารด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่พนักงานภายในองค์กร รวมถึงศึกษาการรับรู้และทัศนคติของพนักงานที่มีต่อกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้รับผิดชอบในการกำหนดกิจกรรมและการสื่อสารด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 1 คน และพนักงานในบริษัท จำนวน 4 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการแปลความหมายของข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ 1) การดำเนินกิจกรรมภายใน ได้แก่ กิจกรรมความรับผิดชอบเนื่องมาจากกระบวนการผลิต และความรับผิดชอบต่อพนักงานในองค์กร 2) การดำเนินกิจกรรมภายนอกที่มีต่อชุมชน ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือพนักงานทุกคนในองค์กร จึงเน้นเนื้อหาที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีรูปแบบการใช้สื่อที่หลากหลายโดยรูปแบบการสื่อสารผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่พนักงานมีส่วนร่วมเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดประเมินผลการสื่อสารจากการเข้าร่วมกิจกรรมของพนักงานด้วยความสมัครใจ ด้วยการสนับสนุนและการทำตัวเป็นแบบอย่างจากคณะผู้บริหารในความรับผิดชอบต่อสังคมทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทและต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความ รับผิดชอบต่อสังคมนำมาสู่ความผูกพันต่อองค์กร
  PDF File
 
Volume : 2015/2
 
  วันที่เพิ่มบทความ : 15/01/2559 (11:18:33) 
  วันที่แก้ไขล่าสุด : 15/01/2559 (11:20:57) 
  วันที่เข้าชมล่าสุด : 26/04/2567 (09:37:04) 
  จำนวนผู้เข้าชม : 404  ครั้ง