SJSS    Details 
 SJSS  

Details of the article

 Knowledge Management of Creative Tourism in Cultural Tourist Attractions, Phimai District, Nakhon Ratchasima. การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
  Authors (ผู้แต่ง): กันตภณ แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี
  Date (วันที่): 15 มกราคม 2559 (11:34:35)
  Article Types (ประเภทบทความ): Article
  Keywords (คำค้น): Creative Tourism, Creative Tourism Management, Knowledge Management
  Abstract (บทคัดย่อ):
The objective of this research is to discover, capture, transfer, and apply the knowledge of creative tourism management. The research methodology imitates the concept of knowledge management which is divided into 4 processes: knowledge discovery,knowledge capture, knowledge transfer, and knowledge application. The research instruments employed are semi–structured interviews, in-depth interviews, and database and website evaluation. The results of this research revealed that the knowledge management process can be very well applied to the knowledge management of creative tourism in cultural tourist attractions in Phimai district, Nakhon Ratchasima. The results of the knowledge discovery indicated that the knowledge of creative tourism management can be divided into 4 aspects. The first aspect is tourist attraction divided into 4 groups: archaeological site, antiquities, art and culture, and tradition. The second one is tourism marketing such as tourists’ requirement analysis, and demand of tourism product. The third one is tourist. The main groups of tourists are high school students, undergraduate students, and working people; and the main reason for the visit is that the attractions are on the way to their main destination. The final aspect is tourism business. The strengths of overall tourism business are reasonable price and good services, but the weaknesses are that tourists did not know the accommodation business in Phimai. There are 18 tourist attractions that creative tourism can be established. Knowledge capture can divide the knowledge into 5 main categories, 17 minor categories, and 57 small groups. Each of the tourist attractions is explained by 9 essential features. The evaluation results of these knowledge categories, the database, and the developed website evaluated by the representative sample of this research indicated that contents of the developed website are clear, complete and comprehensive. This set of information can be used to support a preliminary planning for creative tourism.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา จัดเก็บ เผยแพร่และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ดำเนินการวิจัยตามกรอบแนวคิดของการจัดการความรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 4 กระบวนการได้แก่ การค้นหาองค์ความรู้ การจัดเก็บองค์ความรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินฐานข้อมูลและเว็บไซต์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดการความรู้ที่ประยุกต์ใช้สามารถนำมาใช้ในการจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมายได้เป็นอย่างดี ในการค้นหาองค์ความรู้ สามารถจำแนกความรู้ได้เป็น 4 ด้าน คือ (1) แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี (2) ด้านการตลาดการท่องเที่ยว เช่น การวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ความต้องการผลิตภัณฑ์ทาง การท่องเที่ยว เป็นต้น (3) ด้านนักท่องเที่ยวกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก คือ นักเรียน นักศึกษา และวัยทำงาน เหตุผลการมาเที่ยวมากที่สุด คือ เป็นทางผ่านจึงแวะเที่ยว (4) ด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว มีจุดแข็ง คือ ราคาเหมาะสม การบริการดี ส่วนจุดอ่อน คือ นักท่องเที่ยวไม่ค่อยรู้จักกับธุรกิจที่พักของอำเภอพมิ าย แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไดมี้จำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง การจัดเก็บความรู้สามารถแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ 17 หมวดย่อย 57 หมู่ย่อย กำหนดชุดข้อมูลที่จำเป็นที่ใช้ในการอธิบายแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแหล่งได้เป็น 9 องค์ประกอบ โดยกลุ่มตัวอย่างประเมินว่า ทั้งหมวดหมู่ความรู้ ฐานข้อมูล และเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาที่ครอบคลุม ละเอียด ชัดเจน และสามารถช่วยในการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเบื้องต้นได้
  PDF File
 
Volume : 2015/2
 
  วันที่เพิ่มบทความ : 15/01/2559 (11:34:35) 
  วันที่แก้ไขล่าสุด : 15/01/2559 (11:34:47) 
  วันที่เข้าชมล่าสุด : 28/03/2567 (23:40:37) 
  จำนวนผู้เข้าชม : 544  ครั้ง