SJSS    Details 
 SJSS  

Details of the article

 Feminism through Figurative Language in Contemporary American Songs of Leading Contemporary Feminist Music Icons ลัทธิสตรีนิยมที่ถ่ายทอดผ่านภาษาภาพพจน์ในเพลงอเมริกันร่วมสมัย ของศิลปินดนตรีแนวหน้าผู้ยึดหลักลัทธิสตรีนิยม
  Authors (ผู้แต่ง): Morakot Areerasada and Pataraporn Tapinta
  Date (วันที่): 15 มกราคม 2559 (11:08:11)
  Article Types (ประเภทบทความ): Article
  Keywords (คำค้น): Feminism, ลัทธิสตรีนิยม, figurative language, ภาษาภาพพจน์, Song, feminist music icon, ศิลปินดนตรีผู้ยึดหลัก ลัทธิสตรีนิยม
  Abstract (บทคัดย่อ):
The main objectives of this study are 1) to identify feminist values reflected in contemporary American songs of ‘third wave’ feminist lyricists (Madonna, Pink,Beyonce, Britney Spears, Lady Gaga, and Kesha); 2) to analyze how those feminist values are reflected in those songs through figurative language. The main theoretical frameworks of four major perspectives of third wave feminism (Mann and Huffman, 2005), of figurative language (Perrine, 1977; Arp and Johnson, 2009; Straker, 2013),and of content analysis (Miles and Huberman, 1994; Coffey and Atkinson, 1996) were applied. The findings revealed that six major feminist values were expressed in those songs including the themes of women’s 1) Ambition; 2) Survival; 3) Pride;4) Indiv idualism; 5) Liberalism; 6) Women’s inferior social status and struggle for life quality. These feminist values were commonly expressed through three common f igurative devices—1) metaphor; 2) simile; 3) parallelism. Of these three devices,metaphor was employed most frequently. This device of using shared background knowledge of social values (e.g., beliefs and attitudes) between the lyricists, who are considered as feminist icons, and their audiences through metaphoric symbols of women’s behaviors, outer appearances and characteristics, abilities, and so on seems to show the most effective impact in promoting understanding of feminist sensation among their audiences. In conclusion, song, which is a common contemporary genre of literary work, can transcend feminist messages to the society effectively,and the intended messages appear powerful because of the use of figurative language.
วัตถุประสงค์หลักของวิจัยนี้คือ 1.) เพื่อระบุลัทธิสตรีนิยมที่ถูกถ่ายทอดในเพลงอเมริกันร่วมสมัยของศิลปินดนตรีแนวหน้าผู้ยึดหลักลัทธิสตรีนิยมซึ่งได้แก่ มาดอนน่า พิงค์ บียอนเซ่ บริทนีย์ สเปียร์ เลดี้ กาก้า และ เคช่า 2.) เพื่อวิเคราะห์วิธีการถ่ายทอดลัทธิเหล่านั้นผ่านภาษาภาพพจน์ในเพลง กรอบทฤษฎีหลักในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ทฤษฎีแนวคิดหลักทั้งสี่ของลัทธิสตรีนิยมคลื่นที่สาม (Mann และ Huffman, 2005) ทฤษฎีภาษาภาพพจน์ (Perrine, 1977; Arp. และ Johnson, 2009 และ Straker, 2013)และทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Miles และ Huberman, 1994 และ Coffey และ Atkinson, 1996) ผลการวิจัยเผยว่าความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิสตรีนิยมหกด้านที่ถูกถ่ายทอดในเพลง ได้แก่ 1.) ความปรารถนา 2.) การเอาตัวรอด 3.) ความภาคภูมิใจ 4.) แนวคิดในเชิงปัจเจกนิยม 5.) แนวคิดในเชิงเสรีนิยม 6.) สถานะทางสังคมของหญิงที่ด้อยกว่าและการดิ้นรนเพื่อคุณภาพชีวิต ความเชื่อ เหล่านี้โดยทั่วไปแล้วถูกถ่ายทอดผ่านภาษาภาพพจน์สามประเภท ได้แก่ 1.) อุปลักษณ์ 2.) อุปมา 3.) ความสอดคล้องของระดับภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปลักษณ์เป็นเทคนิคที่ถูกใช้มากที่สุดซึ่งใช้ประโยชน์จากหลักการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีองค์ความรู้ร่วมกันในด้านค่านิยมทางสังคม กล่าวคือ การใช้สัญลักษณ์เชิงอุปลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม ลักษณะภายนอก คุณลักษณะและความสามารถของผู้หญิงในการถ่ายทอดลัทธิสตรีนิยมให้แก่ผู้รับสารสามารถสื่อสารความเชื่อและทัศนคติของศิลปินมาสู่ผู้ฟังเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุป คือ เพลงซึ่งเป็นงานวรรณกรรมร่วมสมัยประเภทหนึ่งสามารถส่งผ่านเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิสตรีนิยมสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื้อหาสำคัญในเพลงนั้นถูกถ่ายทอดได้อย่างชัดเจนผ่านกลยุทธ์ภาษาภาพพจน์
  PDF File
 
Volume : 2015/2
 
  วันที่เพิ่มบทความ : 15/01/2559 (11:08:11) 
  วันที่แก้ไขล่าสุด : 15/01/2559 (11:21:29) 
  วันที่เข้าชมล่าสุด : 18/04/2567 (21:58:09) 
  จำนวนผู้เข้าชม : 1221  ครั้ง